วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประเทศในทวีปยุโรป " ประเทศรัสเซีย "




ข้อมูลทั่วไปประเทศรัสเซีย

           
         รัสเซีย (Russia) (ภาษารัสเซีย: Росси́я, Rossija) หรือ สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation) (Росси́йская Федера́ция, Rossijskaja Federatsija) เป็นประเทศที่มีอาณาบริเวณตั้ง อยู่ระหว่าง 2 ทวีป คือ ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป รัสเซียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (เป็นสองเท่าของอันดับสอง คือ ประเทศแคนาดา) เดิมเป็นสมาชิกของสหภาพโซเวียต และเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดทั้งตามขนาดของพื้นที่ และตามอิทธิพลทางการเมืองในสมัยโซเวียต เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง

เมืองหลวง: มอสโก (ประชากร 10,126,424 คน)

พื้นที่: 17,075,200 ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก ( ใหญ่กว่าประเทศไทย ราว 33 เท่า ) โดยมีระยะทางจากด้านตะวันออกจรดตะวันตก 9,000 กิโลเมตร และจากด้านเหนือจรดใต้มีระยะทาง 4,000 กิโลเมตร

ที่ตั้ง: 55°45′N 37°37′E

เมืองใหญ่ที่สุดในประเทศ: มอสโก

ภาษาราชการ: ภาษารัสเซียและภาษาราชการอื่น ๆ ในแต่ละสาธารณรัฐย่อย

รัฐบาล: สหพันธรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี ประธานาธิบดี

ประธานาธิบดี: นายดมิตรี อนาโตลิเยวิช เมดเวเดฟ

นายกรัฐมนตรี: นายวลาดิมีร์ วลาดิมีโรวิช ปูติน

ได้รับเอกราช: ประกาศอิสรภาพจากสหภาพโซเวียต 12 มิถุนายน พ.ศ. 2533 (วันรัสเซีย) 
เนื้อที่: ทั้งหมด 17,075,200 กม.² (อันดับที่ 1)
6,592,745 ไมล์²
พื้นน้ำ (%) 0.5
GDP (PPP) 
- รวม 1.778 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 7-9)
- ต่อประชากร 2548 ค่าประมาณ 12,254 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 54)
HDI (2550) 0.802 (อันดับที่ 67) – สูง

สกุลเงิน: รูเบิล (Russian ruble - RUR)
1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 25.57 รูเบิล (ค่าเฉลี่ยปี 2550)

ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP): 1,236.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปี 2550)

รายได้ประชาชาติต่อหัว: 13,463 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ: ร้อยละ 8.1 (ปี 2550)

เขตเวลา: ฤดูร้อน (DST) (UTC+2 ถึง +12) 



ประวัติศาสตร์รัสเซีย

     

ยุคแห่งการตั้งอาณาจักร
        ชาวสลาฟตะวันออกเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถื่นฐานในรัสเซีย บริเวณแม่น้ำนีเปอร์และแม่น้ำวอลกาทางตอนใต้ของประเทศ ส่วนทางตอนเหนือชนชาติสแกนดิเนเวียและไวกิ้งที่รู้จักในนามวาแรนเจียน ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำเนวา และทะเลสาบลาโดกา ทำการติดต่อค้าขายกับชาวสลาฟ แต่แล้วในปี ค.ศ.880 กษัตริย์แห่งวาแรนเจียนก็เข้ามายึดเมืองเคียฟของชาวสลาฟ และได้ตั้งเคียฟเป็นเมืองหลวง โดยผนวกดินแดนเหนือและใต้เข้าด้วยกันแล้วขนานนามว่า เคียฟรุส (Kievan Rus')
        ในปี ค.ศ. 978 เจ้าชายวลาดีมีร์ โมโนมัค ขึ้นครองราชย์และทรงนำศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์เข้าสู่รัสเซีย ซึ่งต่อมามีบทบาทและอิทธิพลอย่างสูงต่อศิลปะสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของประเทศ ในช่วงศตวรรษที่ 11 เคียฟเป็นนครหลวง ศูนย์รวมของอำนาจกษัตริย์และเป็นศูนย์กลางของคริสต์จักรออร์ทอดอกซ์ ในขณะที่เมืองอื่น ๆ ก็มีประชากรก่อตั้งขึ้นมา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวอ้างถึงมอสโกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1147 ว่าเจ้าชายยูริ ดอลโกรูกี มกุฎราชกุมารแห่งนครเคียฟ มีรับสั่งให้สร้างป้อมปราการไม้หรือเครมลินขึ้นที่เนินเขาโบโรวิตสกายา ริมแม่น้ำมอสควา และตั้งชื่อเมืองว่า มอสโก
 
อาณาจักรมัสโควี
            ต่อมาในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 กองทัพมองโกล นำโดยบาตูข่าน เข้ารุกรานรัสเซีย และยึดเมืองเคียฟได้สำเร็จ หลังจากนั้นรัสเซียก็ถูกตัดจากโลกภายนอก ถูกควบคุมทางการเมือง การปกครอง และต้องจ่ายภาษีให้กับมองโกล กษัตริย์และพระราชาคณะจึงย้ายศูนย์กลางอำนาจมาทางตอนเหนือ
            ในปี 1328 พระเจ้าอีวานที่ 1 ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ พระองค์ทรงมีฉายาว่า lvan kalita หรืออีวานถุงเงิน เนื่องจากทรงเก็บส่วยและเครื่องบรรณาการให้มองโกล และในยุคนี้เองที่กษัตริย์ได้ย้ายที่ประทับมาที่มอสโก ต่อมาในยุคของพระเจ้าอีวานที่ 2 (ค.ศ. 1353-1359) มองโกลเริ่มเสื่อมอำนาจ เจ้าชายดมีตรี โอรสแห่งพระเจ้าอีวานที่ 2 ทรงขับไล่มองโกลได้สำเร็จในการรบที่คูลีโคโว บนฝั่งแม่น้าดอน ในปี 1380 พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็น ดมีตรี ดอนสกอย (ดมีตรีแห่งแม่น้ำดอน) ได้รวมเมืองวลาดีมีร์และซุลดัล อันเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรมัสโควี และยังได้บูรณะเครมลินเป็นกำแพงหินขาวแทนไม้โอ๊ก มอสโกจึงมีอีกชื่อเรียกว่า เมืองกำแพงหินขาวในยุคนั้น แต่เพียงไม่นานพวกตาตาร์ก็กลับมาทำลายเครมลินจนพินาศ รัสเซียต้องเป็นเมืองขึ้นของตาตาร์อีกครั้งหนึ่งในปี 1382
              จนเข้าสู่สมัยของพระเจ้าอีวานที่ 3 หรืออีวานมหาราช(ค.ศ. 1462-1505) พระองค์ทรงอภิเษกกับหลานสาวของจักรพรรดิองค์ก่อนแห่งไบแซนไทน์ในปี 1472 และรับอินทรีสองเศียรเป็นสัญลักษณ์ของรัสเซีย ในยุคของพระองค์ได้รวบรวมดินแดนให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง ในปีค.ศ. 1480 ทรงขับไล่กองกำลังตาตาร์ออกจากรัสเซียจนหมดสิ้น ปิดฉากสองศตวรรษภายใต้การปกครองของมองโกล ทรงบูรณะเคนมลินให้เป็นหอคอยสูงและโบสถ์งดงามไว้ภายในเครมลิน นับเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองของรัสเซีย
                ปี 1574 พระเจ้าอีวานที่ 4 (1533-1584) หลานของพระเจ้าอีวานมหาราช ได้รับสถาปนาเป็นซาร์พระองค์แรก (ซาร์มาจากคำว่า ซีซาร์ ผู้ครองอำนาจแห่งจักรวรรดิโรมันและไบแซนไทน์) พระองค์ทรงปกครองอาณาจักรด้วยความเหี้ยมโหด ปราศจากความเมตตา ว่ากันว่าทรงรับสั่งให้ควักลูกตาสถาปนิกผู้ออกแบบสร้างมหาวิหารเซนต์บาซิล เพื่อมิให้สร้างสิ่งก่อสร้างที่งดงามเช่นนี้ได้ที่ใดอีก เมื่อหมดยุคของพระเจ้าอีวานที่ 4 ในปี ค.ศ. 1584 มอสโกก็ประสบปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจอย่างรุนแรง มีการแย่งชิงราชบัลลังก์ระหว่างราชวงศ์รูริก และโรมานอฟ ในที่สุดสมัชชาแห่งชาติและพระราชาคณะแห่งคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ ก็มีมติเลือกมีคาอิล โรมานอฟ ขึ้นเป็นซาร์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
 
จักรวรรดิรัสเซีย
                 ค.ศ. 1613-1917 พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช (ค.ศ. 1682-1725) ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์รัสเซีย พระองค์ขึ้นครองราชย์แต่งแต่พระชนมายุ 10 ชันษาพร้อมกับพระเจ้าอีวานที่ 5 (เป็นกษัตริย์บัลลังก์คู่) จนในปี 1696 เมื่อพระเจ้าอีวานที่ 5 สิ้นพระชนม์ พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช จึงมีพระราชอำนาจโดยแท้จริง ในยุคของพระองค์ทรงขยายอาณาเขตรัสเซียออกไปทางตะวันออกถึงวลาดีวอสตอค และทรงใช้นโยบายสู้ตะวันตก ทรงนำรัสเซียเข้าสู่ยุคใหม่ โดยในปีค.ศ. 1712 ทรงย้ายเมืองหลวงจากมอสโกมาที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเป็นครั้งแรกที่มีการจัดตั้งกองทหารราชนาวีขึ้นในรัสเซีย ทั้งยังทรงนำช่างฝีมือจากฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ มาสร้างวิหารและพระราชวังที่งดงามอีกมากมาย และทรงนำพาจักรวรรดิรัสเซียให้เป็นที่รู้จักเกรียงไกรในสังคมโลก ถัดจากพระเจ้าปีเตอร์มหาราชยังมีซาร์และซารีนาอีกหลายพระองค์ที่สืบราชบัลลังก์ ทว่าผู้ที่สร้างความเจริญเฟื่องฟูให้กับรัสเซียสูงสุด ได้แก่ พระนางเจ้าแคทเทอรีนที่ 2 (ค.ศ. 1762-1796) พระนางได้รับการยกย่องให้เป็นราชินี ด้วยทรงเชี่ยวชาญด้านการปกครองอย่างมาก กระนั้นพระนางก็มีชื่อเสียงด้านลบด้วยพระนางมีคู่เสน่หามากมาย
                   ผู้สืบราชวงศ์องค์ต่อมาคือพระเจ้าปอลที่ 1 (ค.ศ. 1796-1801) พระราชโอรสของพระนางเจ้าแคทเทอรีน ทรงครองราชย์อยู่เพียงระยะสั้น จากนั้นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 (1801- 1825) พระราชโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อ ในปี 1812 ทรงทำศึกชนะจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส แต่แล้วในช่วงปลายรัชกาล เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบบรัฐสภา ปี 1825 เกิดกบฏต่อต้านราชวงศ์ขึ้น ในเดือนธันวาคม เรียกกบฏธันวาคม (Decembrist Movement) แต่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 (ค.ศ. 1825-1855) ก็ทรงปราบกลุ่มผู้ต่อต้านไว้ได้ พอมาในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 (ค.ศ. 1855-1881) พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในปี 1881 ทิ้งไว้เพียงอนุสรณ์สถานที่สร้างอุทิศแด่พระองค์ ณ จุดที่ถูกลอบปลงพระชนม์ ซาร์องค์ต่อมาคือ อเล็กซานเดอร์ที่ 3 (ค.ศ. 1881-1894) จนถึงซาร์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โรมานอฟ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (1894-1917) ความเหลื่อมล้ำกันทางชนชั้น และความยากจน ก่อให้เกิดการปฏิวัติเป็นครั้งแรกโดนกรรมการชาวนาในปี 1905 ซึ่งมีผู้ถูกยิงเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เรียกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า วันอาทิตย์เลือด Bloody Sunday และสุดท้ายคือการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 กระนั้นชนวนที่ทำให้ราชวงศ์โรมานอฟและระบอบซาร์ถึงกาลอวสานก็มีปัจจัยอื่นเช่นกัน
 
สมัยสหภาพโซเวียต
                    การตัดสินใจเขาร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของซาร์นิโคลัสที่ 2 นั้นนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้งชีวิตของทหารและชาวรัสเซียนับล้านที่เมื่อรัสเซียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ การจลาจนเกิดขึ้นทั่วเมืองในที่สุดปี 1917 จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบซาร์ พระเจ้านิโคลัสที่ 2 สละราชสมบัติ มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกีขึ้นบริหารประเทศ แต่พรรคบอลเชวิค (Bolshevik) นำโดยวลาดีมีร์ เลนินก็ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารประเทศไว้ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็น สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Union of Soviet Socialist Repubilcs หรือ USSR)
                     ปี ค.ศ. 1918 ย้ายเมืองหลวงและฐานอำนาจกลับสู่มอสโก กระนั้นก็ยังมีผู้ไม่พอใจกับสภาพแร้นแค้น การขาดสิทธิเสรีภาพ จึงทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นหลายต่อหลายครั้ง เลนินถึงแก่อสัญกรรมในปี 1924 โจเซฟ สตาลิน (1924-1953) ขึ้นบริหารประเทศแทนด้วยความเผด็จการ และกวาดล้างทุกคนผู้ที่มีความคิดต่อต้าน เขาเปิดการพัฒนาประเทศสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ จนเทียบเคียงสหรัฐอเมริกา แต่ปัญหาความอดอยาก ที่เรื้อรังมานานก็ยากเกินเยียวยา และยิ่งเลวร้ายเมื่อฮิตเลอร์สั่งล้อมมอสโกไว้ โดยเฉพาะที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กถูกปิดล้อมไว้นานถึง 900 วันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ชาวรัสเซียเรียกสงครามครั้งนั้นว่า The Great Patriotic War กระนั้นสตาลินก็มีบทบาทในการพิชิตนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1941-1945) นี้ไว้ได้
                     ปี ค.ศ. 1955 นีกีตา ครุชชอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำโดยมีแนวคิดในการบริหารประเทศที่เน้นการอยู่ร่วมกัน มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนผ่อนคลายความเข้มงวดให้น้อยกว่าสมัยสตาลิน รวมถึงเปิดเครมลินเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนได้เข้าชมอีกด้วย ปี 1964 ครุชชอฟลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคแทน เบรจเนฟแผ่อิทธิพลไปถึงจีน คิวบา และอัฟกานิสถาน เพิ่มความเครียดไปทั่วโลก เขาจึงนำนโยบายต่างประเทศที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ การผ่อนคลายความตึงเครียด มาใช้โดยปี1980 มอสโกได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 22
                     ปี 1985 มิฮาอิล กอร์บาชอฟขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมิวนิสต์ และขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทนนายอังเดร โกรมิโกรที่ลาออกในปี 1988 เขาเป็นผู้นำการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เรียกว่า เปเรสตรอยกา (Perestroyka) โดยนำพาประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยม มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาฝีมือแรงงานรวมถึงเสนอนโยบายเปิดกว้างกลาสนอสต์ (Glasnost) คือให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน มีการติดต่อด้านการค้ากับตะวันตก รวมถึงถอนกำลังออกจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถานและยังได้เข้าร่วมกับองค์การนาโต หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ในปี ค.ศ. 1990 กอร์บาชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ รวมถึงได้รับยกย่องจากนิตยสารไทม์เป็นบุรุษแห่งศตวรรษ (Man of the Decade) กระนั้นปัญหาขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และความล้าหลังทางการผลิตที่สั่งสมมานานก็ทำให้นโยบายเปเรสตรอยกาล้มเหลว ความนิยมในกอร์บาชอฟเริ่มตกลง ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นในเดือนสิงหาคม 1991 โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่าที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดเสรี แต่บอริส เยลต์ซิน ก็สามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ กอร์บาชอฟจึงสิ้นคะแนนนิยมอย่างแท้จริง เขาประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงประกาศยกเลิกพรรคคอมมิวนิสต์ต่อหน้ามหาชน พร้อมด้วยการก้าวขึ้นเป็นผู้นำของเยลต์ชิน สหภาพโซเวียตจึงล่มสลาย สาธารณรัฐต่าง ๆ ทั้ง 15 สาธารณรัฐแยกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งสาธารณรัฐรัสเซีย (Russian SFSR) ภายใต้ชื่อใหม่ว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation)
 
ภูมิศาสตร์ประเทศรัสเซีย
        
            ดินแดนอันกว้างใหญ่ของสหพันธรัฐรัสเซียครอบคลุมพื้นที่แถบตะวันออกเฉียงเหนือเหนือของทวีปยูเรเชีย จุดที่ห่างไกลกันที่สุดของรัสเซีย ซึ่งได้แก่ชายแดนที่ติดต่อกับโปแลนด์และหมู่เกาะคูริล มีระยะห่างถึง 8,000 กิโลเมตร ทำให้รัสเซียมีถึง 11 เขตเวลา[3]รัสเซียมีเขตป่าสงวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก[4] และถูกเรียกว่าเป็น "ปอดของยุโรป"[5] เพราะปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดูดซึมนั้นเป็นรองเพียงแค่ป่าดิบชื้นแอมะซอนเท่านั้น[5] รัสเซียมีทางออกสู่มหาสมุทรถึงสามแห่ง ได้แก่มหาสมุทรแอตแลนติก อาร์กติก และแปซิฟิก จึงทำให้รัสเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่ออุปทานของสินค้าประมงในโลก[6]
           พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัสเซียเป็นที่ราบกว้างใหญ่ ทางตอนใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสเตปป์ มีป่าไม้มากทางตอนเหนือ และมีพื้นที่แบบทุนดราตามชายฝั่งทางเหนือ เทือกเขาจะอยู่ตามชายแดนทางใต้ เช่นเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งมียอดเขาเอลบรุส ที่มีความสูง 5,642 เมตรและเป็นจุดสูงสุดของรัสเซียและยุโรป หรือเทือกเขาอัลไตและทางตะวันออก เช่นเทือกเขาเวอร์โฮยันสค์ หรือภูเขาไฟในแหลมคัมชัตคา เทือกเขาอูรัลทางตะวันตกวางตัวเหนือใต้และเป็นเขตแดนทางธรรมชาติของทวีปเอเชียและทวีปยุโรป
           รัสเซียมีชายฝั่งที่ยาวถึง 37,000 กิโลเมตร ตามแนวมหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลบอลติก ทะเลอะซอฟ ทะเลดำ และทะเลแคสเปียน[7] นอกจากนั้น รัสเซียยังมีทางออกสู่ทะเลแบเร็นตส์ ทะเลขาว ทะเลคารา ทะเลแลปทิฟ ทะเลไซบีเรียนตะวันออก ทะเลชุกชี ทะเลเบริง ทะเลโอค็อตสก์ และทะเลญี่ปุ่น เกาะและหมู่เกาะที่สำคัญได้แก่ หมู่เกาะโนวายาเซมเลีย หมู่เกาะฟรัสซ์โยเซฟแลนด์ หมู่เกาะเซเวอร์นายาเซมเลีย หมู่เกาะนิวไซบีเรีย เกาะแวรงเกล เกาะคูริล และเกาะซาคาลิน เกาะดีโอมีด (ซึ่งเกาะหนึ่งปกครองโดยรัสเซีย ส่วนอีกเกาะปกครองโดยสหรัฐอเมริกา) อยู่ห่างกันเพียง 3 กิโลเมตร และเกาะคุนาชิร์ก็อยู่ห่างจากฮอกไกโดเพียงประมาณ 20 กิโลเมตร
 
 
วัฒนธรรมประเทศรัสเซีย
                    ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกซ์รัสเซีย (ร้อยละ 70) ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 5.5) คริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก (ร้อยละ 1.8) และพุทธศาสนานิกายมหายาน (ร้อยละ 0.6)
 
 
สถานที่ท่องเที่ยวประเทศรัสเซีย
พระราชวังเครมลิน
 
 
        พระราชวังเครมลิน ตั้งอยู่ที่กรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย สร้างอยู่บนเนินเขาริมฝั่งแม่น้ำมอสควา ภายในมีพระราชวัง หอคอย และป้อมปราการ ซึ่งในอดีต เป็นที่ประทับของพระเจ้าซาร์กษัตริย์แห่งราชวงศ์รัสเซีย แต่ได้ถูกปฏิวัต ิเป็นคอมมิวนิสต์ และได้ใช้เป็นที่ทำการรัฐบาลเครมลิน เป็นชื่อ ของนักการเมือง พอระบบสังคมนิยม ล่มสลายเป็นประชาธิปไตย ก็ได้เปิดให้เป็น แหล่งท่องเที่ยว จนถึงปัจจุบัน
 
        สถาปัตยกรรมของกรุงมอสโกนั้น พระราชวังเครมลินถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีเลิศที่สุดในยุโรปยุคกลาง คำว่า "เครมลิน" มีความหมายว่า ป้อมปราการ มีความยาวล้อมรอบ 2,235 เมตร มีหอคอย 18 แห่ง (เพื่อป้องกันการรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน) โดยมีการปรับปรุงต่อเติมมาเรื่อยๆ เริ่มจากใช้อิฐสีขาวเป็นรอบรั้วกั้นกำแพงแต่ในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนมาเป็นอิฐสีแดง ซึ่งความสูงของหอคอยแตกต่างกันระหว่าง 28-71 เมตร เช่น
 
        ภายในพระราชวัง แห่งนี้ประกอบด้วยปราสาท โบสถ์ วิหาร พิพิธภัณฑ์ คลังแสง อาวุธยุทธภัณฑ์ หอคอย ป้อมปราการ หอสูง ยอดแหลม และโดมมากมาย มีกำแพงสูง 65 ฟุตรอบพระราชวัง มีความยาวเกือบ 3 กิโลเมตร พระราชวังจักรพรรดิอยู่ตรงกลาง หอคอยอิวานเวลิกี้สูง 270 ฟุต เป็นที่แขวนระฆัง ของพระเจ้าโบริสดูนอฟ ผู้อยู่บนหอคอย จะสามารถมองเห็นทัศนียภาพ กรุงมอสโก ที่สวยงาม ได้อย่างชัดเจน บรรดาหอคอย หอสูง โดม ป้อมปราการเหล่านี้ เมื่อแสงพระอาทิตย์สาดมาต้อง จะเห็นเป็นสีทอง เปล่งปลั่ง สุกอร่าม งามตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก
 
            ประตูสำคัญ คือประตูโปรดชำระบาป ซึ่งพระเจ้าซาร์อะเล็กซิส โปรดให้สร้างเมื่อปีค.ศ. 1491 โปรดให้ติดโคมใหญ่ไว้บนยอดดวงหนึ่งประตูนี้เคยมีพระบรมราชโองการรับสั่งให้ผู้ผ่านเข้าออกต้องถอดหมวก แสดงความเคารพ ผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูกจับประหารชีวิต ถัดไปไม่ไกลมีมหาวิหารอัครเทวทูตซึ่งมีที่ตกแต่งไว้อย่างงดงาม เพื่อใช้เป็นสุสานฝังพระศพของพระเจ้าซาร์ทุกพระองค์ นอกจากนี้ยังมีโบสถ์อัสสัมชัญซึ่งสร้างไว้อย่างประณีตบรรจงเป็นพิเศษ
มหาวิหารเซนต์บาซิล
 
 
    มหาวิหารเซนต์บาซิล (St. Basil’s Cathedral) คืออีกหนึ่งสถาปัตยกรรมที่กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของกรุงมอสโก ด้วยรูปทรงที่มีลักษณะเป็นโดมรูปหัวหอม สีสันสดใส ตั้ง ตระหง่านสง่างาม ขนาบข้างด้วยกำแพงเครมลิน ดึงดูดให้คนจำนวนไม่น้อยที่เดินทางสู่จัตุรัสแดงแล้วจะต้องถ่ายรูปเป็นที่ ระลึกคู่กับมหาวิหารแห่งนี้ พร้อมกับการเรียนรู้ความเป็นมาอันยาวนานของสถานที่สำคัญนี้ควบคู่กันไปมหาวิหารเซนต์บาซิลสร้างขึ้นโดยพระเจ้าอีวานที่ 4 (Ivan the Terrible) เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานในการรบชนะเหนือกองทัพของมองโกลที่เมืองคาซาน (Kazan) ในปี พ.ศ. 2095 หลังจากถูกปกครองกดขี่มานานหลายร้อยปี ออกแบบโดยสถาปนิก ปอสนิก ยาคอฟเลฟ (Postnik Yakovlev) และด้วยความงดงามของสถาปัตยกรรมจึงทำให้มีเรื่องเล่าสืบต่อกันว่า พระเจ้าอีวานที่ 4 ทรงพอพระทัยในความงดงามของมหาวิหารแห่งนี้มาก จึงมีคำสั่งให้ปูนบำเหน็จแก่สถาปนิก ผู้ออกแบบด้วยการควักดวงตาทั้งสอง เพื่อไม่ให้สถาปนิกผู้นั้นสามารถสร้างสิ่งที่สวยงามกว่านี้ได้อีก การกระทำในครั้งนั้นของพระเจ้าอีวานที่ 4 จึงเป็นที่มาของสมญานาม Ivan The Terrible หรืออีวานมหาโหด นั่นเอง
 
สิ่งที่ควรชม
- โดมรูปหัวหอม ที่มีหลากหลายสีสันสดใสสวยงามมีหลายขนาด เป็นโดม 9 แห่งที่รวมอยู่ด้วยกันได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน เป็นรูปแบบศิลปะจากจินตนาการจากเทพนิยายซึ่งเป้นพระบรรชาของพระผู้เป็นเจ้า หรือแรงบรรดาลใจจากเทพเจ้าบนสวรรค์
 
- ภาพรูปเคารพในโบสถ์กลาง (Main Iconostasis) เป็นภาพพระเยซูและสาวกคนสำคัญ และมีรวดลายฝังหินขัดเรียบที่มีสีสันสวยงามวิจิตรบรรจงมาก เป็นผลงานชิ้นเอกในสไตล์บารอก อายุราว 200 ปี บางภาพก็มากกว่านั้น
 
 - อนุสาวรีย์ คอสมา มินิน และ ดมิทริ โปซาร์สกี้ (Kuzma Minin and Dmitry Pozharsky) หล่อด้วยทองสำริดโดย Ivan Martos ทั้ง 2 คนเป็นผู้นำกองกำลังอาสาสมัครต่อสู้ผู้รุกรานชาวโปล (Ploes) ออกจากเขตเครมลินในปี พ.ศ. 2361 หลังจากได้รับชัยชนะจากสงครามนโปเลียน (พ.ศ. 2348 เกิดสงครามกับฝรั่งเศส รัสเซียมีชัยชนะในการรบที่ออสเตอร์ลิสส์ (Austerlitz) พ.ศ. 2355 นโปเลียนบุกเข้ามอสโก แต่ตีไม่สำเร็จจึงต้องล่าถอยออกไป)
 
    บริเวณใกล้กันกับมหาวิหารเซนต์บาซิล เป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานเลนินหรือสุสานเลนิน ซึ่งยังคงเก็บรักษาร่างของวลาดิเมียร์ เลนิน ผู้นำคนสำคัญของคอมมิวนิสต์ และเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปเคารพศพได้
 
    แรกเริ่ม ตั้งอยู่ตรงกลางจตุรัสแดง หันหน้าเข้าหาว้งเครมลิน ต่อมาในยุคคอมมิวนิสต์โซเวียตได้มีการย้ายมาอยู่ด้านหน้ามหาวิหารเซนต์บาซิล เปิดตั้งแต่ 11.00-19.00 น. วันพุธและวันพฤหัสบดี เปิดถึง 18.00 น. ปิดทุกวันศุกร์

พระราชวังฤดูร้อน
 
 
    พระราชวังฤดูร้อนปีโตรเดอร์วาเรส เป็นพระราชวังที่สวยงามไม่เหมือนใคร ตั้งอยู่ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย พระราชวังฤดูร้อนเปโตรควาเรสต์ (ปีเตอร์ฮอฟ) ตั้งอยู่ที่ริมฝั่งทะเลบอลติก เป็นพระราชวังของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ตัวอาคารพระราชวังสวยงามมาก นอกจากนี้ยังมีน้ำพุมากกว่า 100 แห่ง การเข้าชมพระราชวังจะต้องนำถุงเท้าที่จัดเตรียมไว้ให้ สวมคลุมรองเท้าอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้พื้นของพระราชวังเสียหาย 
 
    พระราชวังฤดูร้อนปีโตรเดอร์วาเรส เป็นที่หนึ่งของความใหญ่โตที่สุดในรัสเซีย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสืบทอดประเพณีแห่งสากล รวมทั้งความสำเร็จ ความกล้าหาญและความเก่งกาจ ด้วยตัวอย่างของกลุ่มสถาปัตยกรรม ประติมากรรมและกลุ่มวิศวกรรมที่สอดสานความงามของศิลปะเข้ากับภูมิประเทศที่สวยงาม ประวัติความเป็นมาในการสร้างพระราชวังปี
 
     โตรเดอร์วาเรสกล่าวคือ พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปีเตอร์มหาราชในปีค.ศ. 1705 เป็นพระตำหนัก ของกษัตริย์รัสเซีย โดยทำการสร้างให้ติดกับชายฝั่งเพื่อใช้ในการพักผ่อนและล่าสัตว์ในฤดูร้อน โดยปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ได้กลายเป็นสัญญลักษณ์ของพระเจ้าปีเตอร์มหาราชซึ่งประกอบด้วย พระราชวัง น้ำพุ สวนตอนล่างและสวนตอนบน เดิมทีในสมัยพระเจ้าปีเตอร์มหาราชทรงเสด็จประพาสยุโรปในปี ค.ศ. 1717 ท่านได้ทรงทอดพระเนตรเห็นพระราชวังแวร์ซายส์ (Versailles) แห่งฝรั่งเศสและได้ทรงประทับใจในความสวยสดงดงามจึงได้ทรงให้นำมาร่างเป็นภาพเพื่อสร้างพระราชวังแห่งนี้ โดยอดีตนั้นให้สร้างเป็นพระราชวังขนาดเล็ก แต่ต่อมาสมัยพระนางอลิสซาเบธมีการปรับปรุงและขยายออกไปให้เป็นศิลปะบารอกใน ปีค.ศ 1759 ทำให้พระราชวังปีเตอร์ฮอฟมีความสวยงามมากกว่าเดิม ด้วยการออกแบบของสถาปนิกที่มีชื่อเสียงผู้ที่ออกแบบ
 
    พระราชวังฤดูร้อน วังเปโตร ดวาเรียส หลังจากทรุดโทรมไปในช่วงสงครามโลกที่ 2 สมัยเยอรมันยึดครอง ก็ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่จนเกือบสมบูรณ์แบบ เปโตร ดวาเรียส (ปีเตอร์ฮอฟ) พระราชวังฤดูร้อนของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ตั้งอยู่อ่าวฟินแลนด์ ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันตก 29 กิโลเมตร โดดเด่นเป็นพิเศษ คือ น้ำพุอลังการ (ปิดในฤดูหนาว)เดิมทีพระเจ้าปีเตอร์มหาราช สร้างวังนี้ในปี 1720 ตามแบบเรียบง่ายของสถาปนิก ฌอง บัฟติสต์ เลอบลองด์ ที่เห็นวิจิตรโอ่อ่าในขณะนี้เป็นการตกแต่งเพิ่มเติมโดยซาลีน่าอลิธซาเบธ ร่องรอยสไตล์บาร็อกเดิมอันงดงามของพระเจ้าปีเตอร์และเลอบลองด์ยังคงมีให้ เห็น ปีเตอร์ฮอฟ สร้างอยู่บนทำเลงามบนเนินธรรมชาติดุจดัง แวร์ซายส์ริมทะเล การสร้างน้ำพุซับซ้อนบนเนินดินเลนชื้นแฉะเป็นเรื่องที่ยากมากในสมัยนั้น ด้านหน้าของพระตำหนักคือ สวนน้ำซึ่งมีบันใดน้ำตกใหญ่เป็นส่วนที่เด่นที่สุด พร้อมรูปปั้นแซมซันฉีกปากสิงโตด้วยมือเปล่า


เขตการปกครองรัสเซีย
            เขตการปกครองไม่ว่าจะเป็นสาธารณรัฐ ดินแดน ฯลฯ ทั้งหมดถูกจัดอยู่ใน 7 เขตสหพันธ์ (federal districts) แต่ละแห่งบริหารโดยผู้ว่าราชการเขต ซึ่งประธานาธิบดีสหพันธรัฐรัสเซียเป็นผู้แต่งตั้ง
  1. เขตสหพันธ์กลาง (Central Federal District)
  2. เขตสหพันธ์ใต้ (Southern Federal District)
  3. เขตสหพันธ์ตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwestern Federal District)
  4. เขตสหพันธ์ตะวันออกไกล (Far Eastern Federal District)
  5. เขตสหพันธ์ไซบีเรีย (Siberian Federal District)
  6. เขตสหพันธ์อูรัลส์ (Urals Federal District)
  7. เขตสหพันธ์วอลกา (Volga Federal District)
ที่มา http://www.abroad-tour.com/russia/russia.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น